มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจาก การแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม อาจแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง สู่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง จึงมีโอกาสมาก ที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งในระยะแรก และหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดี การตรวจพบมะเร็งในระยะแรก จะช่วยให้การรักษา มีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมนจึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศโดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การได้รับรังสีในปริมาณสูง
บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
มีอาการปวดบริเวณเต้านม
ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยดิจิตอลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์
ราคาพิเศษ 2,000 บาท (จากราคาปกติ 2,800 บาท) รวมค่าแพทย์ และบริการแล้ว วันนี้ - 31 ธ.ค. 2565
แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท1 ชั้น1 อาคาร 80 พรรษา 2ชั้น
เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-อาทิตย์
เวลา 8.00-14.00 น.
โทร 02-769-2052
ปิดทำการ วันหยุดนักขัตฤกษ์